
วิสัยทัศน์ สพป.สุพรรณบุรี เขต 2
วิสัยทัศน์
“สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพและมาตรฐานสากล บนพื้นฐานความเป็นไทย”
พันธกิจ
1. ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
2. ส่งเสริม และสนับสนุนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างทั่วถึง
3. ส่งเสริม ให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
4. พัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ให้มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5. ส่งเสริม และสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
6. พัฒนาระบบบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เป้าประสงค์หลัก
1. ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการบริการการศึกษาอย่างทั่วถึง เสมอภาค และมีคุณภาพ
2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและเหมาะสม
3. ผู้เรียนทุกคน มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตลอดจนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย อย่างมีคุณภาพ
4. ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีทักษะที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ
5. สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ พร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.
6. สถานศึกษาทุกแห่งเป็นสถานศึกษาพอเพียง
7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการบริหารจัดการเป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประเด็นกลยุทธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ได้กำหนดประเด็นกลยุทธ์ไว้์ 4 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับ ทุกประเภท
กลยุทธ์ที่ 2 ขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาตามศักยภาพ และมีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ
จุดเน้นการดำเนินงาน 3 ด้าน ประกอบด้วย
จุดเน้นที่ 1 ด้านผู้เรียน
จุดเน้นที่ 2 ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
จุดเน้นที่ 3 ด้านการบริหารจัดการ
1. จุดเน้นด้านผู้เรียน
1.1 นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญสู่มาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้
1.1.1 นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญาที่สมดุลเหมาะสมกับวัยและเรียนรู้อย่างมีความสุข
1.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระหลัก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
1.1.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถด้านภาษา อ่านออก เขียนได้ ด้านคำนวณ และ ด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม
1.1.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสู่อาชีพ ด้านการแนะแนว ทั้งโดยครูและผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ และได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต
1.1.5 นักเรียนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ อย่างน้อย 2 ภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เหมาะสมตามช่วงวัย
1.2 นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคม ที่เหมาะสม
1.2.1 นักเรียนระดับประถมศึกษา ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
1.2.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีทักษะการแก้ปัญหา และอยู่อย่างพอเพียง
1.3 นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
1.3.1 เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคล ด้วยรูปแบบที่หลากหลายตามหลักวิชา
1.3.2 เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเยียวยา ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
1.4 ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง และเสมอภาค
2. จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.1 ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการสื่อสาร มีสมรรถนะในการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
2.1.1 ครูได้รับการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอน การสอนคิดแบบต่าง ๆ และการวัดประเมินผล
ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
2.1.2 ครูสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเหมาะสม
2.1.3 ครูได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และ
ครูทั้งในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียน หรือภาคส่วนอื่น ๆ ตามความพร้อมของโรงเรียน
2.1.4 ครูสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและทุกภาคส่วน ให้เกิดชุมชน
แห่งการเรียนรู้
2.1.5 ครูจัดการเรียนการสอนให้สอดรับกับการเป็นประชาคมอาเซียน
2.1.6 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจิตวิญญาณของความเป็นครู การเป็นครูมืออาชีพ และยึดมั่น
ในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2.2 ผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการบริหารงานทุกด้านให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญกำลังใจในการทำงาน
2.4 องค์กร และคณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง วางแผนและสรรหาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและสังคม
3. จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ
3.1 สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการโดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
3.1.1 สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศได้รับการแก้ไข ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม และประเมินผล
3.1.2 สถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และได้รับ การประเมินให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง และสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ
3.1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ โดยใช้มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3.1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีระบบช่วยเหลือ กำกับ ติดตามตรวจสอบการบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
3.1.5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชิดชูเกียรติโรงเรียนที่มีนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อัตราการออกกลางคันลดลง มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
3.2 หน่วยงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกระดับ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.2.1 หน่วยงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกระดับ และสถานศึกษา ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.2.2 หน่วยงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกระดับ และสถานศึกษา ส่งเสริมการระดมทรัพยากรในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา